วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำเชื่อม

                                                            คำเชื่อม
    คำเชื่อม  คือคำหรือกลุ่มคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำ กลุ่มคำหรือประโยค ได้แก่

1. คำที่ทำหน้าที่เชื่อมความในประโยคให้สมบูรณ์ ตำแหน่งของคำจะอยู่หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยา คำเชื่อมชนิดนี้คือ คำบุพบท เช่น ของ แห่ง เพื่อ ใน ที่ แก่ โดย เป็นต้น


ตัวอย่าง                 หนังสืออยู่บนโต๊ะ


                              สมุดเล่มนี้เป็นของสมชาย

2. คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค คำเชื่อมประเภทนี้คือ คำสันธาน จะปรากฏในประโยคความรวม มีทั้งที่เป็นคำคำเดียว เป็นกลุ่มคำ หรือเป็นคำที่ต้องใช้คู่กับคำอื่น เช่น และ แต่ เพราะ.....จึง หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น กว่า.....ก็ ทั้ง.....และ เนื่องจาก.....จึง เป็นต้น


ตัวอย่าง                 เนื่องจากฝนตกหนักน้ำจึงท่วมถนน


                              วันหยุดสุดสัปดาห์แม่ชอบไปซื้อของแต่พ่อชอบอ่านหนังสืออยู่ที่บ้าน

3. คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคใหญ่กับประโยคย่อยเข้าด้วยกันกลายเป็นประโยคความซ้อนหนึ่งประโยค คำเชื่อมชนิดนี้คือ คำประพันธสรรพนาม ตำแหน่งของคำจะอยู่หน้าประโยคย่อยและอยู่หลังคำนามในประโยคใหญ่ นอกจากจะทำหน้าที่เชื่อมประโยคแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคย่อยด้วยได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน


ตัวอย่าง                   นักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัล


                                (ประโยคใหญ่-นักเรียนจะได้รับรางวัล)


                               (ประโยคย่อย-นักเรียนสอบได้คะแนนสูงสุด)

4. คำที่ทำหน้าที่เชื่อมความในประโยคใหญ่กับประโยคย่อยเข้าด้วยกันกลายเป็นประโยคความซ้อนหนึ่งประโยค คำเชื่อมชนิดนี้คือ คำประพันธวิเศษณ์ ตำแหน่งของคำจะอยู่หน้าประโยคย่อยและอยู่หลังคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ในประโยคใหญ่ นอกจากจะทำหน้าที่เชื่อมประโยคแล้ว ยังทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ที่อยู่ข้างหน้าด้วยเช่น ว่า ที่ ซึ่ง อัน เพราะ จน ให้ เป็นต้น


ตัวอย่าง                 เขาลือกันว่าสมบูรณ์จะได้เป็นผู้อำนวยการ


                                 แม่บอกให้ลูกถูบ้าน


                                 น้อยเสียใจที่เป็นต้นเหตุของเรื่องวุ่นวายคราวนี้

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาษาพูด - ภาษาเขียน

ภาษาพูดกับภาษาเขียน                                                        
ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน
เป็นการยากที่จะตัดสินว่า คำใดเป็นภาษาพูด คำใดเป็นภาษาเขียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะในการใช้คำนั้นๆ บางคำก็ใช้เป็นภาษาเขียนอย่างเดียว บางคำก็ใช้พูดอย่างเดียว และบางคำอยู่ตรงกลางคืออาจเป็นทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนก็ได้ ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนพออธิบายได้ดังนี้

๑. ภาษาเขียนไม่ใช้ถ้อยคำหลายคำที่เราใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่น เยอะแยะ โอ้โฮ จมไปเลยแย่ ฯลฯ

๒. ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบหรือคำสแลงที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษาเช่น ชักดาบ พลิกล็อค โดดร่ม

๓. ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวยชัดเจน ไม่ซ้ำคำหรือซ้ำความโดยไม่จำเป็น ในภาษาพูดอาจจะใช้ซ้ำคำหรือซ้ำความได้ เช่น การพูดกลับไปกลับมา เป็นการย้ำคำหรือเน้นข้อความนั้นๆ

๔. ภาษาเขียน เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนไม่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเป็นภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขในตอนท้ายได้ นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ คือ

๑) ภาษาเขียนใช้คำภาษามาตรฐาน หรือภาษาแบบแผน ซึ่งนิยมใช้เฉพาะในวงราชการหรือในข้อเขียนที่เป็นวิชาการทั้งหลายมากกว่าภาษาพูด เช่น

ภาษาเขียน – ภาษาพูด          ภาษาเขียน – ภาษาพูด           ภาษาเขียน - ภาษาพูด

       สุนัข             หมา                    สุกร               หมู                   กระบือ        ควาย

      แพทย์            หมอ            เครื่องบิน           เรือบิน             เพลิงไหม้      ไฟไหม้

ภาพยนตร์            หนัง          รับประทาน          ทาน,กิน          ถึงแก่กรรม       ตาย,เสีย

ปวดศีรษะ           ปวดหัว              เงิน              ตัง(สตางค์)        อย่างไร        ยังไง
 
ขอบ้าง                ขอมั่ง    กิโลกรัม,เมตร         โล,กิโล ฯลฯ

๒) ภาษาพูดมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน คือ เขียนอย่างหนึ่งเวลาออกเสียงจะเพี้ยนเสียงไปเล็กน้อย ส่วนมากจะเป็นเสียงสระ เช่น

ภาษาเขียน – ภาษาพูด             ภาษาเขียน – ภาษาพูด              ภาษาเขียน - ภาษาพูด
       
       ฉัน            ชั้น                             เขา       เค้า                          ไหม         ไม้(มั้ย)

  เท่าไร           เท่าไหร่                       หรือ      เหรอ,เร้อะ             แมลงวัน     แมงวัน

สะอาด           ซาอาด                  มะละกอ     มาลากอ                       นี่         เนี่ยะ
 
๓) ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือ มีการเน้นระดับเสียงของคำให้สูง-ต่ำ-สั้น-ยาว ได้ตามต้องการ เช่น

ภาษาเขียน – ภาษาพูด               ภาษาเขียน – ภาษาพูด               ภาษาเขียน – ภาษาพูด

  ตาย                 ต๊าย                     บ้า                 บ๊า                          ใช่         ช่าย

เปล่า                 ปล่าว                    ไป                ไป๊                          หรือ       รึ(เร้อะ)

    ลุง                 ลุ้ง                    หรอก               หร้อก                        มา       ม่ะ

๔) ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและไพเราะยิ่งขึ้น เช่น ไปไหนคะ ไปตลาดค่ะ รีบไปเลอะ ไม่เป็นไรหรอก นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ

๕) ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อนบางชนิด เพื่อเน้นความหมายของคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น

คำซ้ำ ดี๊ดี เก๊าเก่า ไปเปย อ่านเอิ่น ผ้าห่มผ้าเหิ่ม กระจกกระเจิก อาหงอาหาร

คำซ้อน มือไม้ ขาวจั้ะ ดำมิดหมี แข็งเป็ก เดินเหิน ทองหยอง

                                                           การพูดและการเขียน

                        การพูด
ความสำคัญ
          ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจตกลงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
ฉะนั้นการใช้ภาษาจึงต้องใช้ได้ตรงตามกำหนดของสังคม ไม่ว่าเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน
หากสิ่งใดผิดแปลกไปจากข้อตกลงการสื่สารก็จะหยุดชะงักล่าช้าลง ผิดแผกไปจากเจตนาหรืไม่สามารถสื่อสารได้
        ภาษาพูด เป็นภาษาที่ใช้พูดจากันไม่เป็นแบบแผนภาษา ไม่พิถีพิถันในากรใช้แต่ใช้สื่อสารกันได้ดี สร้างความรู้สึกที่เป็นกันเอง ใช้ในหมู่เพื่อนฝูง ในครอบครัว และติดต่อสื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการ
การใช้ภาษาพูดจะใช้ภาษาที่เป็นกันเองและสุภาพ ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงว่าพูดกับบุคคลที่มีฐานะต่างกัน
การใช้ถ้อยคำก็ต่างกันไปด้วย ไม่คำนึงถึงหลักภาษาหรือระเบียบแบบแผนการใช้ภาษามากนัก
                   
                   การเขียน
ภาษาเขียน เป็นภาษาที่เคร่งครัดต่อการใช้ถ้อยคำและคำนึงถึงหลักภาษาเพื่อใช้ในการ
สื่อสารให้ถูกต้อง และใช้ใน การเขียนมากกว่าการพูด ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เขียนให้เป็นประโยค เลือกใช้ถ้อยคำ
ที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสื่อสาร เป็นภาษาที่ใช้ในพิธีการและเป็นทางการ เช่น การกล่าวรายงาน
กล่าวปราศัย กล่าวสดุดี การประชุมอภิปราย การปาฐกถา การใช้ภาษาจะระมัดระวังไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น
หรือคำฟุ่มเฟือยหรือการเล่นคำจนกลายเป็นการพูดหรือเขียนเล่นๆ
ดังนั้นภาษาพูดและภาษาเขียน จึงมีความสำคัญที่นักเรียนจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ
และฝึกใช้ให้ถูกต้อง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

ความหมาย

ภาษาพูด หมายถึง ภาษาที่ใช้สื่อสารกันด้วยการพูด
ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่ใช่สื่อสารกันดัวยการเขียนเป็นตัวหนังสือและตัวเลข แทนการพูด

สาระสำคัญ
สาระสำคัญในการจัดการเรียนการสอนภาษาพูดและภาษาเขียน ประกอบด้วย
1. ภาษาเป็นวัฒนธรรม
ภาษาเป็นวัฒนธรรม เพราะภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงเป็นปึกแผ่น
ด้วยเหตุที่คนพูดภาษาเดียวกันย่อมมีควมผูกพัน รักใคร่กลมเกลียว ร่วมมือร่วมใจกันประกอบภารกิจต่างๆ
ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องบอกให้รู้นิสัยใจคอ สภาพความเป็นอยู่
และวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้นๆด้วย เช่น สำนวนไทยที่ว่า"สำเนียงบอกภาษา กิริยาส่อสกุล" เป็นต้น
อีกประการหนึ่งที่ว่าภาษาเป็นวัฒนธรรม ก็คือ ภาษาเป็นเครื่องมือวัดความเจริญก้าวหน้าของ
ชาตินั้นๆ ว่ามีวัฒนธรรมสูงส่งเพียงไร เราก็จะสังเกตุได้ง่ายๆ คือ คนที่ยังป่าเถื่อนหรือไม่ได้รับอบรมมาก่อน
เวลาพูดก็จะไม่น่าฟัง เช่น ใช้ภาษากักขฬะ คือ แข็งกระด้างแต่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีแล้ว
จะพูดจาได้ไพเราะ ใช้ภาษาก็ถูกต้องตามแบบแผนใช้คำพูดสื่อความหมายได้ แจ่มแจ้งไม่กำกวม
เป็นภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในหมู่คณะอีกทั้งสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกาลเทศะและ
เหมาะสมกับฐานะของบุคคล

2. การแบ่งระดับภาษา
ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของภาษาไทย คือมีการแบ่งระดับของภาษา ซึ่งภาษาอื่นๆ เช่น
ภาษาอังกฤษก็มีระดับภาษาเช่นกันแต่ลักษณะดังกล่าวมิใช่เรื่องสำคัญเป็นพิเศษเหมือนภาษาไทย
เมื่อกล่าวโดยส่วนรวม ระดับภาษาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษาที่พัฒนาแล้ว และเมื่อกล่าวเฉพาะภาษาไทย
ระดับภาษาเป็นลักษณะพิเศษที่นักเรียนภาษาไทยจะต้องเข้าใจและใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม
โดยปกตินักเรียนใช้ภาษาในการสื่อสาร มิใช่เพียงเพื่อให้รู้เรื่องกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
เท่านั้น แต่ยังต้องใช้ให้ได้ผลดีด้วย นั่นก็คือต้องใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความเหมาสมกับกาลเทศะ
บุคคล รวมทั้งคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่จะใช้ด้วย โดยเราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนด
ระดับของภาษาที่จะใช้ จึงได้มีการแบ่งระดับของภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล โอกาส สถานที่ และประชุมชน

ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้ตามโอกาส
กาลเทศะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร
คนในสังคมแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายชนชั้นตามสถานภาพ อาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย ฯลฯ
ภาษาจึงมีลักษณะผิดแผกหลายระดับไปตามกลุ่มคนที่ใช้ภาษาด้วย เช่น การกำหนดถ้อยคำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ให้แตกต่างจากคนทั่วไป หรือการคิดถ้อยคำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในวงการอาชีพต่างๆ การสนทนาระหว่าง
ผู้ที่คุ้นเคยกันย่อมแตกต่างจากการสนทนาระหว่างผู้ที่เพิ่งเคยพบกันเป็นครั้งแรก หรือการพูดในที่ประชุมชน
ย่อมต้องระมัดระวังคำพูดมากกว่าการพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน แม้กระทั่งงานเขียนที่มีรูปแบบเฉพาะ
อย่างงานวิชาการก็ต้องใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น ข่าว เรื่องสั้น หรือบทกวี เป็นต้น
ผู้ใช้ภาษาจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องตามโอกาสกาลเทศะ
และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

การแบ่งระดับภาษา เพื่อให้เข้าใจง่ายอาจจะแบ่งระดับภาษาเป็น 3 ระดับ ดังนี้
2.1 ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่มีแบบแผน เช่น การบรรยาย
การอภิปรายอย่างเป็นทางการหรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะใช้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการเป็นงาน
เช่น ตำราวิชาการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจผู้รับสารและผู้ส่งสารมักเป็นบุคคล
ในวงการเดียวกันหรือวงอาชีพเดียวกันติดต่อกันในด้านธุรกิจการงาน เช่น บอกหรือรายงาน
ให้ทราบ ให้ความรู้เพิ่มเติม เสนอความคิดเห็น ฯลฯ ลักษณะของสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ความคิดที่สำคัญ
อันเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจให้ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน ถ้อยคำที่ใช้ผลตามจุดประสงค์
โดยประหยัดทั้งถ้อยคำและเวลาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัวอย่างเช่น
วิชามนุษย์ศาสตร์ คือ ความสำนึกในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และจุดประสงค์หลักของศาสตร์นี้ก็คือ
การแสวงหาความหมายและคุณค่าของประสบการณ์มนุษย์ มนุษย์ศาสตร์ไม่ใช้วิชาชีพเพราะไม่อาจนำไปใช้สร้าง ผลิต
หรือทำอะไร เฉพาะอย่างได้ และจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็มิได้มุ่งสร้างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านแต่เพียงอย่างเดียว
บุคคลหนึ่งอาจจะไม่ใช้นักภาษาหรือนักประวัติศาสตร์
แต่เขาก็มีความเป็นนักมนุษย์ศาสตร์รวมๆ อยู่ในตัวได้ เรามิได้ มุ่งได้ให้คนที่เรียนมนุษยศาสตร์รู้ภาษาเพื่อจะ
พูดภาษาได้ หรือรู้วรรณคดี
เพื่อเป็นนักเขียนได้ แต่เพื่อให้รู้จักและเข้าใจมนุษย์ในด้านต่างๆ วิชานี้จึงเน้นที่ตัวมนุษย์เป็นการสร้างคนในฐานะ
เป็นคน ไม่ใช้สร้างคนในฐานะผู้ประกอบอาชีพ (กุสุมา รักษมณี,2533:13)

2.2 ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารโดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันด้วยความรวดเร็วลดความเป็นทางการลงบ้างเพื่อให้เกิดความใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยาย
ในห้องเรียน การพูดทางวิทยุและโทรทัศน์ ข่าว และบทความในหนังสือพิมพ์ ฯลฯ ลักษณะของสารมัก
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ธุรกิจ การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการหรือการดำเนินชีวิต ฯลฯ
มักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น และอาจมีถ้อยคำที่แสดงความคุ้นเคยปนอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น
โลกของเด็กไม่ใช่โลกของผู้ใหญ่ และในทำนองเดียวกันโลกของผู้ใหญ่ก็ย่อมไม่ใช่โลกของเด็ก
ในขณะที่ผู้ใหญ ชอบรับประทานน้ำพริก เด็กก็ชอบรับประทานแกงจืด เด็กชอบไอศครีม ผู้ใหญ่ชอบเหล้า
ฉะนั้นดูไปบางทีโลกของผู้ใหญ่กับโลกของเด็กก็ลอยห่างกันมาก หรืออีกนัยหนึ่งทางเดินแห่งความคิดของผู้ใหญ่กับของเด็กมักจะสวนทางกันอยู่เสมอ ถ้าผู้ใหญ่ไม่หมุนโลกของตนให้มาใกล้เคียงกับโลกของเด็กบ้าง บาทีเมื่อผู้ใหญ่หันกลับ โลกของเด็กก็ลอยไปไกลจนสุดไขว่คว้าเสียแล้ว (รัญจวน อินทรกำแหง,2524:9)

2.3 ภาษาระดับปาก เป็นภาษาที่ใช้ในการพูด มักใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัวกับบุคคลที่สนิทสนม
คุ้นเคย เช่นระหว่างสามีภรรยา ระหว่างญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท เป็นต้น ลักษณะของสารไม่มีขอบเขตจำกัด
แต่มักใช้ในการพูดจากันเท่านั้น อาจจะปรากฏในบทสนทนาในนวนิยายหรือเรื่องสั้นเพื่อความสมจริง ถ้อยคำที่ใช่
อาจมีคำคะนอง คำไม่สุภาพ หรือคำภาษาถิ่นปะปนอยู่ ตัวอย่างเช่น

"ฮือ ! ไอ้เพลงเกี่ยวข้าวนี่มันปลุกใจเหมือนกันหรือ?" สมภารถามอย่างอัศจรรย์ใจ

"ปลุกใจซีสมภาร บางทีมันก็ปลุกใจดีเสียกว่าต้นตระกูลไทยที่ฉันร้องให้สมภาพฟังเมื่อวานนี้อีก"

สมภารกร่างก้มลงคว้าพลองมาถือไว้แล้วคำรามว่า "ไอ้เทียม มึงอย่ามาวอนเจ็บตัว เอ้า ! ไหนว่า

จะมาช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว ก็รีบๆ กระจายกันออกไป อย่ามัวชักช้า เที่ยงตรงตะวันตรงหัว

มาพร้อมกันที่นี่ กำนันแกจะเอาขนมจีนมาเลี้ยง"

                                                                                                                                (คึกฤทธิ์ ปราโมช , 2527 : 244-245)

การแบ่งภาษาเป็น 3 ระดับข้างต้นนี้น ไม่ได้เป็นการแบ่งอย่างเด็ดขาด การใช้ภาษา ในชีวิตประจำวัน
อาจใช้ภาษาระดับหนึ่งเหลื่อมกับอีกระดับหนึ่ง เช่น อาจใช้ภาษาระดับทางการปะปนกับภาษากึ่งทางการได้
อย่างไรก็ดีการใช้ภาษาระดับต่างๆ ควรคำนึงถึงโอกาสสถานที่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ลักษณะของสาร และสื่อที่ต้องใช้ส่งสารการศึกษาเรื่องระดับภาษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้บุคคลแต่ละกลุ่มเข้าใจภาษาของกันและกัน ไม่เกิดปัญหาด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลรวมทั้งยังทำให้ ผู้ศึกษาได้้เข้าใจลักษณะเฉพาะ และวิวัฒนาการของภาษาไทยอีกด้วยการใช้ภาษาสื่อสารจริงๆ นั้น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีต่างๆกัน จนบ้างครั้งแยกระดับไม่ได้ง่ายๆ เพราะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอีกหลายประการ จึงอาจแบ่งภาษาให้ย่อยลงไปอีก เพื่อผู้ใช้จะได้พิจารณาเลือกใช้ได้ละเอียดและเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่ง 5 ระดับ ดังนี้

1) ภาษาระดับพิธีการ
2) ภาษาระดับทางการ
3) ภาษาระดับกึ่งทางการ
4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป
5) ภาษาระดับกันเอง

การแบ่งระดับภาษาดังกล่าวนี้ โอกาสและบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าเรื่องอื่นๆ
การสื่อสารกับบุคคลเดียวกันแต่ต่างโอกาสหรือต่างสถานที่กัน ก็ต้องเปลี่ยนระดับภาษาให้เหมาะสม ภาษาบางระดับ
คนบางคนอาจจะไม่มีโอกาสใช้เลย เช่น ภาษาระดับพิธีการ บางระดับต้องใช้กันอยู่เสมอในชีวิตประจำวันการเรียนรู้เรื่องระดับภาษา ไม่ว่าจะมีโอกาสได้ใช้ทุกระดับหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยก็ทำให้เรารับรู้ว่าภาษามีระดับ เมื่อถึงคราวที่จะต้องใช้ก็จะใช้ถูกต้อง รู้ว่าภาษาที่ใช้นี้ถูกต้อง สมมควรหรือไม่เพียงใด เพราะถ้าใช้ไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องแล้ว แม้ว่าจะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารและอาจเกิดความไม่พอใจกันขึ้น เช่น เด็กที่พูดจาตีเสมอผู้ใหญ่ผู้น้อยที่พูดกับผู้บังคับบัญชาอย่างขาดสัมมาคารวะ ย่อมทำให้ผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชารู้สึกว่าเป็นคนกระด้างไม่รู้จักกาลเทศะครูจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจพิจารณานำไปแนะนำแก่นักเรียนให้เหมาะสมตามควรแต่กรณี ดังต่อไปนี้

           1) ภาษาระดับพิธีการ
ภาษาระดับพิธีการเป็นภาษาที่ใช้ในงานระดับสูงที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวสดุดี
กล่าวรายงาน กล่าวปราศรัยกล่าวเปิดพิธี ผู้กล่าวมักเป็นบุคคลสำคัญ บุคคลระดับสูงในสังคมวิชาชีพหรือวิชาการ
ผู้รับสารเป็นแต่เพียงผู้ฟังหรือผู้รับรู้ไม่ต้องโต้ตอบเป็นรายบุคคล หากจะมีก็จะเป็นการตอบอย่าง
เป็นพิธีการในฐานะผู้แทนกลุ่ม การใช้ภาษาระดับนี้ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร
ซึ่งเรียกว่า วาทนิพนธ์ก็ได้ ในการแต่งสารนี้มีคำต้องเลือกเฟ้น ถ้อยคำให้รู้สึกถึงความสูงส่ง ยิ่งใหญ่ จริงจังตามสถานภาพของงานนั้น

          2) ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับทางการ ใช้ในงานที่ยังต้องรักษามารยาท ในการใช้ภาษาค่อนข้างมาก อาจจะเป็นการรายงาน การอภิปรายในที่ประชุม การปาฐกถา ซึ่งต้องพูดเป็นการเป็นงาน ใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม อาจจะมีการใช้ศัพท์เฉพาะเรื่องหรือศัพท์ทางวิชาการบ้างตามลักษณะของเนื้อหาที่ต้องพูดหรือเขียน การสื่อสารระดับนี้มุ่งความเข้าใจในสารมากกว่าระดับพิธีการ อาจจะต้องมีการอธิบายมากขึ้น แต่ก็่ยังคงต้องระมัดระวังมมิให้ใช้ภาษาฟุ่มเฟือยหรือเล่นคำสำนวนจนดูเป็นการพูดเล่นหรือเขียนเล่น

        3) ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับกึ่งทางการเป็นภาษาที่ใช้ในระดับเดียวกับภาษาทางการที่ลดความเป็นงานเป็นการลง
ผู้รับและผู้ส่งสารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีโอกาสโต้ตอบกันมากขึ้น อาจต้องสร้างความเข้าใจด้วยการอธิบายชี้แจงประกอบหรือมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือปรึกษาหารือกัน ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน การให้ข่าว การเขียนข่าว หรือบทความในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนิยมใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่แสดงความคุ้นเคยกับผู้อ่านหรือผู้ฟังด้วย

        4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป ภาษาระดับสนทนาทั่วไป เป็นภาษาระดับที่ใช้ในการพูดคุยกันธรรมดา แต่ยังไม่เป็ฯการส่วนตัวเต็มที่
ยังต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติคู่สนนา เพราะอาจจะไม่เป็นการพูดจาเฉพาะกลุ่มพวกของตนเท่านั้น
อาจมีบุคคลอื่นอยู่ด้วย หรืออาจมีบุคคลต่างระดับร่วมสนทนากัน ต้องคำนึงถึงความสุภาพ มิให้เป็นกันเองจนกลายเป็นการล่วงเกินคู่สนทนา

5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก
ภาษาระดับกันเองเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับผู้คุ้นเคยสนิทเป็นกันเอง ใช้พูดจากันในวงจำกัด
อาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ครอบครัวสถานที่ใช้ก็มักเป็นส่วนตัว เป็นสัดส่วนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก หรือที่นักเรียน
ไม่จำเป็นต้องระวังให้สุภาพ หรือมีระเบียบแบบแผนมากนักได้แก่ ภาษาถิ่น ภาษาสแลง ภาษาที่ใช้ติดต่อในตลาด
ในโรงงาน ร้านค้า ภาษาที่ใช้ในการละเล่น หรือการแสดงบางอย่างที่มุ่งให้ตลกขบขัน เช่น จำอวด ฯลฯ
การใช้ภาษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง ผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาท
ซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติผู้อื่นและการรักษาเกียรติของตนเอง เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการ
อบรมสั่งสอนมาดี เป็นผู้มีสมบัติผู้ดี และมีจิตใจดี

3. การใช้ภาษาพูดปะปนในภาษาเขียน
การเขียนบางอย่าง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือพิมพ์ หรือการเขียนไม่เป็นทางการ
อาจใช้ภาษาพูดเพื่อก่อให้เกิดภาพพจน์ หรืออารมณ์ชัดเจนขึ้น แต่การเขียนเพื่อสื่อสารเป็นทางการ ควรหลีกเลี่ยงภาษาพูด ดังเช่น    เขาพบว่าลูกค้าเกิดปัญหาเยอะแยะในเรื่องการรับปุ๋ยผู้จัดการไม่เคยคิดเลยว่า ลูกจ้างจะเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน
เมื่อมาพิจารณาถึงสาเหตุการลา คุณจะพบว่ามันยังมีปัญหาเด็กวัยรุ่นมักแอบเข้าไปสูบยาในห้องน้ำบ่อยๆ

4.ปัจจัยที่สนับสนุนการเขียน
ปัจจัยที่จะช่วยให้เขียนได้ดีมีหลากหลายประการ กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
4.1 ความรักและความสนใจ คนที่เขียนได้ดีต้องมีความรักและความสนใจที่จะเขียน ไม่ย่อท้อที่จะแก้ ให้เวลาในการเขียน ปัจจัยพื้นฐานข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาการเขียนอย่างยิ่ง
4.2 การอ่านและฟังมาก ความพยายามที่จะอ่านและฟังความคิดของคนอื่นจะช่วยให้ผู้เขียนมีความคิดกว้างขวาง
และมีข้อมูลพอที่จะเขียนได้ โดยเฉพาะการอ่านจะช่วยให้ผู้เขียนได้แนวทางการเรียบเรียงความคิด
การใช้ภาษาสำนวน การเลือกคำหรือหลักฐานประกอบการอ้างอิงหรือการดำเนินเรื่องให้น่าสนใจชวนติดตาม
4.3 การเก็บบันทึกข้อมูล นักเรียนที่ดีต้องหัดเก็บข้อมูลต่างๆไว้ รู้จักจดบันทึกถ่ายสำเนา
หรือเก็บเอกสารดีๆ เพราะการนำการเขียนที่ดีมาอ้างอิงจะทำให้ข้อเขียนของตนมีน้ำหนักมีความกระจ่าง ชัดเจน น่าสนใจมากขึ้น
4.4 การสังเกตและจดจำ การเป็นคนช่างสังเกตจะช่วยให้ผู้เขียนเป็นคนละเอียดอ่อนเข้าใจเลือกสาระและคำนำ มาเขียนให้น่าสนใจมากขึ้น เช่น สังเกตว่าข้อเขียนใดอ่านแล้วเข้าใจง่ายประทับใจ ชื่นชมในตัวผู้เขียน กับพยายามสังเกตและจดจำแนวการเขียนนั้นนำมาพัฒนาเป็นลักษณะการเขียนของตน
4.5 การฝึกการเขียนบ่อยๆ การเขียนบ่อยๆ จะทำให้ผู้ฝึกเขียนเกิดความชำนาญในการคิด
การเรียบเรียงสาระ ถ้อยคำสำนวน และความพยายามที่จะตรวจสอบภาษาที่ใช้ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
4.6 นิสัยรักการท่องเที่ยว คนที่ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ย่อมมีประสบการณ์มาก ได้เห็นสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ทำให้เกิดความประทับใจ มีข้อมูลพอที่จะเขียนบรรยาย
4.7 ความมีมนุษยสัมพันธ์ การเขียนมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ที่ต่างฐานะ ต่างความคิด ต่างประเพณี วัฒนธรรมกันให้ผู้นั้นเข้าใจโลก เข้าใจคน ได้เห็นสิ่งต่างๆที่เป็นบทเรียน ข้อคิด หรือเตือนใจทำให้สามารถมานำเหตุการณ์ การติดต่อของมนุษย์มาเป็นข้อมูลในการเขียนได้

5. ข้อควรคำนึงในการใช้ภาษาไทย
การศึกาษาภาษาไทย นอกจากจะศึกษาลักษณะสำคัญของภาษาแล้ว ยังต้องศึกษาเรื่อง
การใช้ภาษาที่ถูกต้อง เหมาะสมหากผู้ใช้ภาษามีความรู้เรื่องการใช้ภาษาไม่ดีพอ อาจทำให้การติดต่อสื่อสาร
เกิดความผิดพลาดสื่อสารได้ไม่ตรงความต้องการ หรือสื่อึความได้แต่ไม่เหมาะสมทำให้ขาดประสิทธิภาพ
ในการสื่อสาร ความผิดพลาดหรือความไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นดังกล่าวล้วนมีสาเหตุมาจากการใช้ภาษาที่บกพร่อง
หรือไม่คำนึงถึงการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ซึ่งเกิดจากการที่คนในสังคมช่วยกันกำหนดขึ้น
ดังนั้นการใช้ภาษาของมนุษย์จึงต้องอยู่ภายในระบบ อันประกอบด้วยระเบียบและกฏเกณฑ์ที่สังคมยอมรับร่วมกัน
หากใช้ผิดไปจากกฏเกณฑ์ที่ยอมรับกันแล้ว อาจก่อให้เกิดความสับสนในการสื่อความหมายได้
ข้อควรคำนึงในการใช้ภาษาไทย มีดังนี้
การใช้ภาษาผิด
การใช้ภาษาไม่เหมาะสม
การใช้ภาษาไม่ชัดเจน
การใช้ภาษาไม่สละสลวย
5.1 การใช้ภาษาผิด การใช้ภาษาผิด หมายถึง การใช้ภาษาผิดหลักไวยากรณ์
หรือผิดความหมาย อาจเกิดจากการใช้คำผิดความหมาย ใช้คำผิดหลักไวยากรณ์ ใช้กลุ่มคำและสำนวนผิด
เรียงคำหรือกลุ่มคำผิดลำดับ และประโยคไม่สมบูรณ์ ดังนี้
5.1.1 ใช้คำผิดความหมาย คือ การนำคำที่มีความหมายอย่างหนึ่ง
ไปใช้โดยต้องการให้มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแตกต่างไปจากความหมายไปจากความหมาย
ที่ยอมรับกันอยู่เดิม เช่น
- น้ำท่วมเป็นเวลาหลายเดือน บัดนี้แผ่นดินแห้งแล้งลงแล้ว(แห้ง)
- คลองที่ไม่จำเป็นถูกทับถมไปจนหมด(ถม)
- วิชัยเป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยสูสีกับใคร(สุงสิง)
5.1.2 ใช้คำผิดหลักไวยากรณ์ คือ การใช้คำบุพบท สันธาน หรือ ลักษณนามผิด เช่น
- เราแนะนำการป้องกันโรคให้กับเด็ก (แก่)
- ในหมู่บ้านของผมมีถนนสายใหม่ๆตัดผ่านหลายทาง(สาย)
- พระภิกษุของวัดนี้ ทุกท่านล้วนแต่มีความสงบทางจิตแล้ว(รูป)
5.1.3 ใช้กลุ่มคำและสำนวนผิด ได้แก่ การใช้กลุ่มคำและสำนวนผิดไปจากไวยากรณ์ เช่น
- เขาถูกตำรวจจับได้คาหลังคาเขา (คาหนังคาเขา )
- ขอให้คู่บ่าวสาวอยู่ร่วมกันยืดยาว จนถือ ไม้เท้ายอดทองก ระบองยอดเงิน
(ไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร)
- คนทำผิดมักจะแสดงอาการกินปูนร้อนท้อง ให้จับได้ ( กินปูนร้อนท้อง)
5.1.4 เรียงคำหรือกลุ่มคำผิดลำคับ คือ การเรียงคำไม่ถูกต้องตามห ลักไวยากรณ์ เช่น
- เขาไม่ทราบสิ่งถูกต้องว่าอย่างไร (เขาไม่ทราบว่าสิ่งที่ถูกต้องเป็นอย่างไร)
- วันนี้อาจารย์บรรยายให้ฟังวิชาต่างๆ(วันนี้อาจารย์บรรยายว ิชาต่างๆให้ฟัง)
- การสร้างสรรค์สังคมนั้น ต้องคนในสังคมร่วมมือกัน (การสร้างสรรค์สังคมนั้น คนในสังคมต้องร่วมมือกัน)
5.1.5 ประโยคไม่สมบูรณ์ คือ ประโยคที่ขาดส่วนสำคัญของประโยคห รือขาดคำบางคำไป ทำให้ความหมายของประโยคไม่ครบถ้วน เช่น
- ผู้ชายที่คิดว่า ตนมีอำนาจเหนือผู้หญิง ( มักจิตใจหยาบกระด้าง)
- ผู้มีปัญญาผ่านอุปสรรคได้โดยง่าย (ย่อม)
- ผู้หญิงที่คิดว่าการแต่งงานเหมือนกับการมัดตัวเอง (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ทุ่มเทให้การทำงาน)

5.2 การใช้ภาษาไม่เหมาะสม การใช้ภาษาไม่เหมาะสม หมายถึง การใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม
กับกาลเทศะและบุคคลและการใช้ภาษาผิดระดับ อาจเกิดการใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน ใช้คำไม่เหมาะสมกับ
ความรู้สึก ใช้คำต่างระดับและใช้ภาษาต่างประเทศปะปนในภาษาไทย ดังนี้
5.2.1 ใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน คือ การใช้ภาษาระดับภาษาปากหรือ ภาษาพูดปะปนกับภาษาเขียน
- นักธุรกิจเหล่านี้ ทำยังไงถึงได้ร่ำรวยยังงี้(อย่างไร , อย่างนี้)
- เขาได้รับคัดเลือกเป็นพนักงานดีเด่น โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว (ไม่ทราบล่วงหน้า)
- ปัจจุบันนี้จังหวัดโคราช เป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(นครราชสีมา,จังหวัด )
5.2.2 ใช้คำที่ไม่เหมาะแก่ความรู้สึก คือ การเลือกใช้คำที่สื่อความหมาย
ไม่ตรงกับความรู้สึกของผู้พูดเช่น
- เขาดีใจที่ต้องออกไปรับรางวัล(เขาดีใจที่ได้ออกไปรับรางวัล)
- สุพรรณรู้สึกใจหายที่ต้องสูญเสียเพื่อนไปเสียที
(สุพรรณรู้สึกใจกายที่ต้องสูญเสียเพื่อนไป)
5.2.3 ใช้คำต่างระดับ คือ การนำคำที่อยู่ในระดับภาษาต่างกัน มาใช้ใ นประโยคเดียวกัน เช่น
- หลวงตาที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ได้เสียชีวิตลงแล้วอ ย่างสงบ(มรณภาพ)
- รถเมล์จอดรับผู้โดยสารตรงป้ายจอดรถประจำทาง (รถประจำทาง)
- หล่อนเป็นหญิงที่มีความองอาจกล้าหาญไม่แพ้บุรุษ (หญิง-ชาย,สตรี,บุรุษ)
5.2.4 ใช้ภาษาต่างประเทศปะปนในภาษาไทย คือ การนำคำภาษาอ ังกฤษแบบ
"ทับศัพท์" มาใช้ปะปนในภาษาไทยซึ่งจะใช้ในภาษาพูดเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้ในภาษาเขียนหรือภาษาทางการและกึ่งทางการ เช่น
- มีบริการส่งแฟ็กซ์แก่ลูกค้าฟรี(โทรสาร , โดยไม่คิดเงิน)
- คะแนนสอบมิดเทอมที่ผ่านมาไม่นาพอใจ(กลางภาค)
- ไฟลท์ที่ 71 จะมาถึงเวลาประมาณ 17.30 น. (เที่ยวบิน)

5.3 การใช้ภาษาไม่ชัดเจน
การใช้ภาษาไม่ชัดเจน หมายถึง การใช้ภาษาที่ไม่สามารถสื่อความหมายที่ผู้ใช้
ต้องการได้ การใช้ภาษาไม่ชัดเจน อาจเกิดจากการใช้คำที่มีความหมายกว้างเกินไป การใช้คำที่มี
ความหมาย ไม่เฉพาะเจาะจง การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้ง หรือการใช้ประโยคที่ทำให้เข้าใจได้หลายความหมาย ดังนี้
5.3.1 ใช้คำที่มีความหมายกว้างเกินไป
- เขาถูกทำทัณฑ์บนเพราะทำความผิด (ก่อการทะเลาะวิวาท)
- ใครๆก็อยากได้คนดีมาเป็นคู่ครอง(คนที่มีความรับผิดชอบต ่อครอบครัว)
5.3.2 ใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน
- นานๆครั้งเขาจะไปหาครูเสมอๆ(นานๆครั้งเขาจึงไปหาครู)
(เขาจะไปหาครูเสมอ)
- นักศึกษาส่วนมากมาสายทุกคน (นักศึกษาส่วนมากมาสาย)
(นักศึกษามาสายทุกคน)
5.3.3 ใช้ประโยคกำกวม เช่น
-มีการแสดงต้นไม้ชนิดต่างๆ ที่มีชื่อในวรรณคดี(มีชื่อเสียง, มีชื่อปรากฏ)
- เขาสนิทกับน้องสาวคุณวิมลที่เป็นอาจารย์
(เขาสนิทกับอาจารย์ซึ่งเป็นน้องสาวคุณวิมล)
(เขาสนิทกับน้องสาวอาจารย์วิมล)
-ต้นเถียงกับหนุ่มอยู่ราวสองชั่วโมง ในที่สุดเขาโกรธขึ้นมา ก็กระโดดเตะอย่างแรง จนเขาหกล้มหน้าคะมำ
(ต้นเถียงกับหนุ่มอยู่ราวสองชั่วโมง ใ นที่สุดต้นโกรธขึ้นมา ก็กระโดดแต่ะหนุ่มอย่างแรงจนหนุ่มหกล้มหัวคะมำ)

5.4 การใช้ภาษาไม่สละสลวย
การใช้ภาษาไม่สละสลวย หมายถึง การใช้ภาษาที่สามารถสื่อสารกันได้แต่เป็นภาษาที่ไม่ราบรื่น
การใช้ภาษาไม่สละสลวย อาจเกิดจากการใช้คำฟุ่มเฟือย การใช้คำไม่คงที่การไม่ลำดับความเหมาะสม
และการใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ ดังนี้
5.4.1 ใช้คำฟุ่มเพือย เช่น
- ชายหาดวันนี้คลาคล่ำเต็มไปด้วยผู้คน
(ชายหาดวันนี้คลาคคลาคล่ำไปด้วยผู้คน)
(ชายหาดวันนี้เต็มไปด้วยผู้คน)

- คนที่ยากจนขัดสนเงินทองย่อมต้องทำงานหนัก
(คนยากจนย่อมต้องทำงานหนัก)
(คนที่ขัดสนเงินทองย่อมต้องทำงานหนัก)

- นายกรัฐมนตรีไทยต้องเปิดเผยออกมาอย่างไม่ปิดบังว่า การไปเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ยังไม่แน่นอน
(นายกรัฐมนตรีไทยต้องเปิดเผยว่า กรไปเยือนญี่ปุ่นใน ครั้งนี้ยังไม่แน่นอน)
(นายกรัฐมนตรีไทยต้องไม่ปิดบังว่า การไปเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ยังไม่แน่นอน)

5.4.2 ใช้คำไม่คงที่ เช่น
- นักเรียนบางคนมีผู้ปกครองมารับ บ้างก็ต้องกลับเอง
(นักเรียนบางคนมีผู้ปกครองมารับ บางคนต้องกลับเอง)
(นักเรียนบางคนมีผู้ปกครองมารับ บ้างต้องกับเอง)

- หมอออกตรวจคนไข้ตามเตียงต่างๆ พบว่าคนป่วยมีอาการดีขึ้น
(หมอออกตรวจคนไข้ตามเตียงต่างๆ พบว่าคนไข้มีอาการดีขึ้น)
(หมอออกตรวจคนป่วยตามเตียงต่างๆ พบว่าคนป่วยมีอาการดีขึ้น

- ภาษาเพื่อการสื่อสาร มี 2 ประเภท คือ ภาษาเพื่อการสื่อสารทั่วไป และภาษากับการสื่อสารเฉพาะอาชีพ
(ภาษาเพื่อการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ ภาษาเพื่อการสื่อสารทั่วไป และภาษากับการสื่อสาร เฉพาะอาชีพ)

5.4.3 ลำดับความไม่เหมาะสม เช่น

- ทักษะการใช้ภาษาทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง
(ทักษะการใช้ภาษาทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน

- ครอบครัวเขาเป็นครองครัวที่อบอุ่น อยู่พร้อมหน้ากันทั้ง พ่อ แม่ พี่ น้อง)
(ครอบครัวเขาเป็นครอบครัวที่อบอุ่น อยู่พร้อมหน้ากันทั้ง พ ่อ แม่ พี่ น้อง)

- คุณสุดาเป็นอาจารย์อยู่โรงพยาบาลจุฬาฯ คณะแพทย์ศาสตร์
(คุณสุดาเป็นอาจารย์อยู่คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ)

5.4.4 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ เช่น

- มันเป็นความจำเป็นที่ข้าพเจ้าต้องจากไป
(ข้าพเจ้าจำเป็นต้องจากไป)

- 80 กว่าชีวติต้องไร้ที่อยู่อาศัย เพราะประสบอุทภัย
(ชาวบ้านกว่า 80 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย เพราะประสบอุทกภัย)

- วันนี้เขามาในชุดสีฟ้าเข้ม
(วันนี้เขาใส่ชุดสีฟ้าเข้ม)

6. การใช้ภาษาระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน
ปัญหาทางภาษาประการหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่ครูและนักเรียน ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือ
การแยกไม่ออกระหว่างภาษาเขียนกับภาษาพูดของผู้ใช้ภาษา ครูมักจะตำหนินักเรียนว่าใช้ภาษาพูดแทน
ภาษาเขียน ส่วนนักเรียนก็มักคิดว่าเมื่อพูดกันก็ใช้ภาษาอย่างนี้ได้ เหตุไรเมื่อเขียนจึงจะต้องเปลี่ยนภาษาให้ยุ่งยากเปล่าๆ
ภาษาพูดของแต่ละคนมีวิธีใช้แตกต่างกัน กล่าวคือ ทุกคนมีศัพท์เฉพาะ มีลีลามีวิธีเรียบเรียงของตนเอง บางคนชอบภาษาแบบหนึ่ง แต่ไม่ชอบอีกแบบหนึ่ง ใครชอบแบบใดก็ว่าแบบนั้นดี ส่วนแบบที่ไม่ชอบเมื่ออ่านหรือฟังแล้วจะรู้สึกรำคาญหู ทำนองเดียวกับที่บางคนรู้สึกขบขันกับการตลกแบบหนึ่ง แต่ไม่หัวเราะเลยกับการตลกแบบอื่น หรือชอบฟังเพลงแบบหนึ่ง แต่นทฟังเพลงแบบอื่นไม่ได้ภาษาพูดซึ่งมีลีลาพิเศษเฉพาะบุคคล แม้ว่าจะฟังดูเบาสมอง แต่ก็มิได้เป็นสื่อที่ดีเมื่อใช้พูดเป็นงานเป็นทางการ
ความแตกต่างกันของภาษาพูดของแต่ละบุคคลจะทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านต้องปรับตัวเข้ากับผู้พูด ในการพูดทั้งผู้พูดและผู้ฟังสื่อสารกันโดยตรง การปรับตัวทำได้ไม่ยากเพราะผู้ฟังพร้อมที่จะฟังภาษาพูดของบุคคลนั้น อยู่แล้ว และส่วนมากมักเป็นคนที่รู้จักหรือเคยปรับตัวเข้ากับภาษาของเขามาก่อน แต่ถึงกระนั้นเมื่อต้องไปฟังคนที่เราไม่คุ้นเคยพูด เราก็ยังต้องปรับหูให้ฟังภาษาของเขามากอยู่ ภาษาเขียนนั้นเราต้องการเฉพาะเนื้อหา ไม่สนใจบุคลิกลักษณะของผู้พูดเมื่อมีภาษาที่เป็นกลางๆ คนอ่านก็ไม่ต้องปรับตัวทุกครั้งที่อ่านงานของผู้เขียนคนใหม่ ความหลากหลายไม่ใช้เหตุผลสำหรับคลายความเบื่อหน่ายเสมอไป อาจเป็นเหตุให้รำคาญหรือเบื่อหน่ายก็ได้ เช่น การใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ถ้าเราอ่านหนังสือหลายเล่ม เล่มแรกใช้ หนู เล่มที่สอง ใช้ดิฉัน เล่มที่สามใช้ อาฮั้น เล่มที่สี่ใช้ เดี้ยน เล่มที่ห้าใช้ เรา เล่มที่หกใช้ ตัวเอง เล่มที่เจ็ดใช้ชื่อตัว เราก็คงรู้สึกรำคาญ ยิ่งใช้บุรุษสรรพนาม อื่นต่างกันอีกด้วย จะเพิ่มความรำคาญมากขึ้นและถ้าใช้ "ลูกเล่น"ต่างกันอีกนอกจาผู้อ่านจะหนักสมองกับเนื้อหาของข้อเขียนแล้วยังต้องปวดเศียรเวียนเกล้ากับภาษาที่ผิดแปลกแตกต่างกันอีก

7. ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน

7.1 ภาษาพูดอาจใช้คำบางประเภทต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล เช่น
บุรุษสรรพนามเรียกตนเองว่า ผม ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนเป็นกันพูดกันอย่างไม่เป็นทางการนัก
(เช่นเดียวกับบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้) นอกจากนั้นทำให้รู้ว่าผู้เขียนเป็นผู้ชายซึ่งไม่สำคัญ
สำหรับการตอบข้อสอบ ก็ถ้าเลือกคำตอบข้อสอบฉบับที่ผู้เขียนมาเป็นตัวอย่าง อาจพบคำว่า หนู ดิฉัน ตัวเอง เป็นต้น
นอกจากคำประเภทนี้ ผู้เขียนอาจใช้คำเฉพาะกลุ่ม คำต่ำกว่ามาตรฐานคำไม่สุภาพต่างๆ เช่น คำหยาบ เป็นต้น
คำเหล่านี้คนบ้างกลุ่มไม่เข้าใจหรือรังเกียจ งานเขียนนั้นเป็นงานสำหรับคนทั่วไป จึงต้องใช้คำที่เป็นมาตรฐานซึ่งทุกคนเข้าใจตรงกัน ยอมรับร่วมกันว่าสุภาพไม่รังเกียจและคงอยู่ในภาษานาน เป็นคำที่ไม่ใช้เพื่อเป็นทางระบายอารมณ์อันไม่ดีงามของผู้เขียน

7.2 ภาษาพูดมีสีหน้าท่าทาง สถานการณ์แวดล้อมเป็นเครื่องขยายความหมายของคำพูด เช่น คนหนึ่งอาจพูดว่า"เสร็จแล้วนะ" คนฟังตอบว่า"ดี" สองคนนี้เข้าใจกัน แต่คนอื่นไม่เข้าใจ เมื่อเขียนจึงต้องบรรยายสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจด้วยจะเขียนตรงตามที่พูดทีเดียวไม่ได้

7.3 ภาษาพูดกับภาษาเขียนนั้นต่างกันด้วยเสียงกับรูป เสียงพูดกับรูปเขียนไม่ตรงกัน
เช่น เขา เมื่อจะออกเสียงเป็นเค้า ฉัน เป็น ชั้น อย่างไร เป็น ยังไง เป็นต้น บางครั้งก็พูดตัดพูดต่อไม่ตรงกัน
เช่น มหาวิทยาลัย มีคนย่อว่า มหาวิยาลัย บ้าง มหายาลัย บ้างมหาลัย บ้าง ถ้าจะใช้ภาษาเขียนก็ต้องเขียนให้เต็มรูป ไม่ใช่เขียนตามเสียงพูดดังกล่าว









ที่มา : วิชาการ, กรม การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2544 พ.ศ.2546

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใบความรู้เรื่องอักษร 3 หมู่

                                                อักษร   3   หมู่

                ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่    คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน

       คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน
เนื้อหา [ซ่อน]

1 การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์

2 ประโยคช่วยจำหมวดหมู่ไตรยางศ์

3 อักษรคู่

4 ดูเพิ่ม

5 อ้างอิง

[แก้] การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์

ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์นั้น มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในหนังสือจินดามณี เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา เข้าใจว่าเป็นผลงานของพระโหราธิบดีได้แต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในเรื่องนี้



[แก้] ประโยคช่วยจำหมวดหมู่ไตรยางศ์

อักษรสูง
ของ (ข) ของ (ฃ) ฉัน (ฉ) ถูก (ฐ ถ) เผา (ผ) ฝัง (ฝ) เสีย (ศ ษ ส) หาย (ห)

หรือ

ผี (ผ) ฝาก (ฝ) ถุง (ถ ฐ) ข้าว (ข ฃ) สาร (ศ ษ ส) ให้ (ห) ฉัน (ฉ)

อักษรกลาง

ไก่ (ก) จิก (จ) เด็กตาย (ฎ ฏ) เด็กตาย (ด ต) บน (บ) ปาก (ป) โอ่ง (อ)

ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ